วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางศาสนา

วันสำคัญทางศาสนา


คลิ๊กดูรายละเอียด วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี » อ่านต่อ

การละเล่นเด็กไทย

การละเล่นเด็กไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันมักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป




ประเพณีไทย

ประเพณีสงกรานต์
 (อังกฤษWater Festival ถอดเป็นอักษรละติน: Songkran, เขมรសង្រ្កាន្តพม่าသင်္ကြန်ลาวສົງການเป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย[ต้องการอ้างอิง] สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทินในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2431 หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ[1]
แหล่งที่มา 
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C






ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือประเพณียิงจรวดไทยขอฝนนี้ ความจริงไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของชาวเมืองยโสธร แต่เป็นฮีด(จารีต)สำคัญ ฮีดหนึ่งของชาวอีสานทั่วทั้งภูมิภาค หากแต่ชาวยโสธรโยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองนั้นให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานอย่างแข็งขัน จนทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และในที่สุดด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนอีกหลาย ๆ ส่วน
บุญบั้งไฟยโสธร จึงเลื่อนฐานะขึ้นเป็นประเพณีสำคัญของประเทศ เป็นตัวแทนจากภาคอีสานที่เชิดหน้าชูตาในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติ

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

ความเป็นครู

           ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้